ไทยพาณิชย์เปิดแผน3ปี เติมเงินลงทุนไอที เดินหน้าสู่ดิจิทัลแบงก์กิ้ง

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารไม่มีแผนที่จะเข้าไปยื่นเพื่อขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารไร้สาขา หรือเวอร์ชวลแบงก์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากเห็นว่าตอนนี้ได้เป็นธนาคารอยู่แล้วและกำลังเดินไปสู่ดิจิทัลแบงก์ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะจัดตั้งเพิ่มเติม เพราะไม่รู้ว่าจะแยกกันอย่างไร โดยมองว่าการมีสาขายังมีความสำคัญและเป็นกำลังให้ธนาคารไทยพาณิชย์ในอนาคต ซึ่งจะไม่เพิ่มไม่ขยายสาขาแต่จะไม่เป็นศูนย์และต้องหาจุดสมดุลบริการอย่างไร้รอยต่อได้อย่างไร จากปัจจุบันมีสาขา 760 สาขา

ทั้งนี้ ภายใน 3 ปี เตรียมลงทุนด้านไอที 7,000-10,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาดิจิทัลแบงก์กิ้งและทำในเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มใช้ดาต้าตอบโจทย์เอไอ ทำข้อมูลเกิดประโยชน์ ทำอย่างไรให้การลงทุนให้มีความปลอดภัยมั่นคง โดยลูกค้าต้องมีความมั่นใจเป็นอย่างแรกมากกว่าอย่างอื่น เป็นโจทย์แรกที่จะขยับไปสู่ดิจิทัลแบงก์กิ้งอย่างแท้จริงคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น

“ธนาคารจะไม่ได้เป็นไร้สาขาและไม่ได้เป็นดิจิทัลอย่างเดียว ยกระดับบริการลูกค้าและให้ต้นทุนถูกลง ด้านบริการจะเป็นอันดับหนึ่ง และเน้นเรื่องการบริหารความมั่งคั่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ ยืนยันไม่ไปขอในที่นี้คือแบงก์ ไม่ใช่เอสซีบี เอกซ์ เชื่อว่าเราปรับตัวเป็นสิ่งนั้นได้อยู่แล้ว จะลดต้นทุน บริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเรื่องนี้ไม่มีความจำเป็นสำหรับเรา กลุ่มลูกค้าธนาคารกำลังจะไปกลางขึ้นบน ไม่ได้พูดถึงรากหญ้าเลย ไม่ทำในส่วนสินเชื่อไม่มีหลักประกัน การลงทุนไม่มีสาขาไม่ทำแน่นอน เพราะการบริการลูกค้าระดับ 50 ล้านบาทขึ้นไป ลูกค้าจะกล้าฝากกล้าโอนเงินกล้าลงทุนหรือไม่”

สำหรับยุทธศาสตร์ 3 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์จะเน้นการให้บริการแบบครบวงจร หรือยูนิเวอร์แซล แบงก์ โดยครองความเป็นผู้นำตลาดในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ อันดับหนึ่งในสินเชื่อที่อยู่อาศัย อันดับหนึ่งในธุรกิจแบงก์แอสชัวร์รันซ์ และติด 1 ใน 3 สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี สินเชื่อลูกค้ารายย่อย และทางด้านการบริหารความมั่งคั่ง รวมทั้ง 1 ใน 3 ธนาคารที่มีผู้ใช้งานแอปพลิเคชันทางเงินมากที่สุดในประเทศคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

นายกฤษณ์ กล่าวว่า ธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อรวมกันทั้งสิ้น 2.3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อบุคคล 9.8 แสนล้านบาท สินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 4.1 แสนล้านบาท และธุรกิจขนาดใหญ่ 9.2 แสนล้านบาท สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจในปี 66 เติบโตสินเชื่อไม่เกิน 5% อย่างไรก็ตาม หลังจากปรับกระบวนการให้เป็นดิจิทัลอย่างครบวงจรตามแผน 3 ปี ในปี 68 ธนาคารมีเป้าหมายจะลดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ให้ต่ำกว่า 40% พร้อมผลักดันสินเชื่อสีเขียวเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท ตามเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืน.