“สุรพงษ์” สั่ง บขส. ศึกษาจุดจอดรถโดยสารรอบกรุง เชื่อมราง-แก้รถติด

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่อาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) โดยมี นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บขส. และคณะให้การต้อนรับ

นายสุรพงษ์ เปิดเผยว่า เมื่อมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะระบบราง เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และ รถไฟฟ้า บขส. จำเป็นต้องปรับตัว และเปลี่ยนแปลงบทบาทในการให้บริการ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเชื่อมต่อการเดินทาง โดยมีเป้าหมายไม่ให้รถโดยสารขนาดใหญ่ของ บขส. เข้ามาใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อลดปัญหาความแออัดจราจรและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยให้ประสานกับ รฟท. ในการหาพื้นที่จุดจอดรอบนอกกรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้โดยสารเชื่อมต่อระบบรางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก โดยให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงข่ายในการเชื่อมโยง เบื้องต้นนำร่อง พื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ สถานีรังสิต สถานีตลิ่งชัน และ สถานีคลองบางไผ่ เพื่อลดปริมาณรถโดยสารขนาดใหญ่เข้าเมือง และอำนวยความสะดวกประชาชนอย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งพิจารณาข้อดี ข้อเสียของการเชื่อมต่อ เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น โดยให้ศึกษาแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์

ส่วนกรณีที่ บขส. มีหนี้สินต้องจ่ายให้ รฟท. ในการเช่าพื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 นั้น เรื่องนี้เป็นปัญหาภายในระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่ง รฟท. ไม่มี บขส. เป็นลูกหนี้เจ้าเดียว ดังนั้นให้ทั้ง 2 หน่วยงานไปเจรจาหาทางออกร่วมกัน คาดว่าใช้เวลาไม่นานจะได้ข้อสรุป ส่วนการย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปที่ใหม่นั้น ขณะนี้มีแผนให้อยู่ที่เดิม ยังไม่เกิดในเร็วๆ นี้ เพราะกว่าระบบรถไฟสมบูรณ์จะใช้เวลา 6 ปี และไม่ควรนำเม็ดเงินไปลงทุนสร้างตึกใหญ่ๆ ควรนำเงินไปลงทุนทรัพย์สินที่ทำให้เกิดรายได้มากกว่ามาสร้างอาคารสถานที่

ส่วนกรณีแก้ปัญหารถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์ (จยย.) รับจ้างสาธารณะเถื่อนที่เข้ามาให้บริการสถานีขนส่งหมอชิต 2 นั้น ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมีนายสรพงศ์ เป็นประธาน และมีตัวแทนจากหน่วยงานผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อประชุมหาแนวทางออกและข้อสรุปที่แท้จริงในเร็วๆ นี้

ด้านนายสรพงศ์ กล่าวว่า บขส. มีผลประกอบการจากการดำเนินธุรกิจในปี 66 มีรายได้รวม 1,900 ล้านบาท แต่ยังประสบปัญหาขาดทุน 219 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 65 ถือว่าลดลงเพราะขาดทุนอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท ส่วนปี 67 คาดการณ์ว่าจะมีรายได้ 2,542 ล้านบาท มีกำไร 57 ล้านบาท ทั้งนี้ บขส. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ขณะนี้ บขส. เปิดให้บริการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์โดยขนส่งไปกับรถโดยสาร (ใต้ท้องรถ) และรถบรรทุก และมีศูนย์รับส่งพัสดุรวม 11 แห่ง และวางแผนในปี 67 จะจัดหาพันธมิตรเพิ่มเติม เพื่อศูนย์รับส่งพัสดุเพิ่มอีก 6 แห่ง และในปี 69 เดินหน้าจัดหาพันธมิตรต่อเนื่อง เพื่อเปิดศูนย์ฯ ให้ได้อีก 3 แห่ง ทำให้ บขส. มีศูนย์ฯ 20 แห่ง จากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ในปี 66 มีรายได้ 111 ล้านบาท และในปี 67 คาดการณ์ว่าจะมีรายได้ 148 ล้านบาท

ปัจจุบัน บขส. มีรถโดยสาร 239 คัน รถร่วมบริการ 3,657 คัน รถโดยสารขนาดเล็ก 3,831 คัน มีเส้นทางเดินรถที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งรวมทั้งหมด 284 เส้นทาง แบ่งเป็นเส้นทางที่ บขส. จัดการเดินรถเอง 23 เส้นทาง เส้นทางที่ บขส. และรถร่วมเอกชนจัดการเดินรถ 62 เส้นทาง และ เส้นทางที่รถร่วมเอกชนจัดการเดินรถเอง 199 เส้นทาง ขณะที่จำนวนผู้โดยสารในปี 66 อยู่ที่ 2,800,000 คน และในปี 67 คาดการณ์ว่าอยู่ที่ 2,800,000 คน เท่ากับปี 66 ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลส่งเสริมการท่องเที่ยว บขส. ต้องพยายามดำเนินการให้จำนวนผู้โดยสารกลับมาใกล้เคียงกับตัวเลขในปี 62 ก่อนมีโควิด-19 ที่มีผู้โดยสารอยู่ที่ 5,800,000 คน

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีนโยบายให้ บขสคำพูดจาก ทดลองใช้ สูตรสล็อต. ดำเนินการจำหน่ายตั๋วโดยสารให้ได้ 100% จากปัจจุบันมีการจำหน่ายตั๋วออนไลน์แค่ 30% เท่านั้น อีกทั้งให้พิจารณาการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าจากเดิม 90 วัน เป็น 1 ปี เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสาร และง่ายต่อการบริหารจัดการเดินรถสอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากขึ้น และมีเงินหมุนเวียนจากรายได้การจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า ทั้งนี้มีนโยบาย บขส. ประเมินผลจากการทำงานและรับเรื่องร้องเรียนจากผู้โดยสารผ่านการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way Communication) เพื่อรับทราบปัญหาผู้โดยสารนำมาสู่การแก้ไขบริการที่ดีขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้ บขส. มีแผนจัดหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (อีวี)จำนวน 75 คัน วงเงินรวม 597 ล้านบาท รูปแบบการเช่า ระยะสัญญา 5 ปี แบ่งเป็น รถโดยสารขนาดใหญ่ มาตรฐาน 1 (ข) ขนาดไม่ต่ำกว่า 36 ที่นั่ง จำนวน 21 คัน วงเงิน 368.73 ล้านบาท และรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ขนาดเล็ก มาตรฐาน 2 ค ขนาดไม่ต่ำกว่า 27 ที่นั่ง (มินิบัส) จำนวน 54 คัน 228.26 ล้านบาท

ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าแล้วเสร็จและเปิดประมูลได้ในเดือน ม.ค. 67 และจะได้ตัวผู้ประกอบการช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 67 ก่อนเสนอบอร์ด บขส. พิจารณาและลงนามสัญญา และทยอยส่งมอบรถภายใน 3 เดือนหลังจากลงนามสัญญา และให้ครบทั้งหมด ม.ค. 68 รวมทั้งแผนพัฒนาพื้นที่เชิงแผนให้เอกชนร่วมลงทุนการพัฒนาที่ดินในกรรมสิทธิ์ของ บขส. พื้นที่ 4 แห่ง ขนาดรวม 30 ไร่ ประกอบด้วย 1.ที่ดินบริเวณแยกไฟฉาย 2.สถานีเดินรถชลบุรี จ.ชลบุรี 3.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) และ 4.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) เพื่อหารายได้เพิ่ม และชดเชยรายได้ค่าโดยสารที่หายไปจากการเดินรถ