“บิ๊กเอ” ชูเพื่อไทย คืนชีพ “1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ พลัส” 100 วันทำทันที

เมื่อวันที่ 28 มี.คคำพูดจาก ทดลองใช้ สูตรสล็อต. “บิ๊กเอ” ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษานโยบายด้านกีฬา พรรคเพื่อไทย ร่วมกับคณะที่ปรึกษา นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา, นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย 1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ พลัส ที่ทำการพรรคเพื่อไทย

ผศ.พิมล กล่าวว่า นโยบายนี้เคยเกิดขึ้นครั้งแรกระหว่างปี 2544-2549 ที่นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และประสบความสำเร็จอย่างมาก ในโอลิมปิกเกมส์ 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ที่ได้เหรียญรางวัลมาถึง 6 เหรียญ หลังจากเกิดการปฏิวัติ ก็ได้ยกเลิกไป ถึงแม้จะเอากลับมาอีกครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเดิม จนปัจจุบันเหลือเพียงสมาคมกีฬาเทควันโดฯ เพียงสมาคมเดียวเท่านั้น ที่ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐวิสาหกิจอย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ตั้งแต่ปี 2548 มาจนถึงปัจจุบัน

นายพิมล กล่าวอีกว่า เมื่อเห็นประโยชน์และความสำเร็จจากนโยบายนี้ในอดีต ทำให้เพื่อไทย อยากจะนำกลับมาอีกครั้ง ที่สำคัญรัฐวิสาหกิจไทยกว่า 20 แห่ง มีกำไร 2 แสนล้านบาทต่อปี ถ้าเจียดมาสัก 1 เปอร์เซ็นต์ มาช่วยวงการกีฬา ก็จะสร้างสิ่งดีๆ ให้ทั้งสังคม เศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยิ่งนักกีฬาไทยได้เหรียฐทอง ได้ฟังเพลงชาติไทย เป็นความสุขของคนไทย ครั้งนี้ถ้าเพื่อไทย ได้เป็นรัฐบาล จะทำให้สำเร็จภายใน 100 วันแรก โดยแนวทางจะตั้งคณะกรรมการที่ดูแลโดยกระทรวงการคลัง 7-9 คน พิจารณาการสนับสนุนสมาคมกีฬาต่างๆ ช่วงแรกเน้นไปที่กีฬาสากลที่มีในโอลิมปิกเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์, ซีเกมส์ ที่หวังผลเป็นเลิศได้คำพูดจาก รวมเว็บ PG Slot

ส่วนสิ่งที่รัฐวิสาหกิจ จะได้รับจากการสนับสนุนสมาคมกีฬานี้ จะได้สิทธิผู้สนับสนุนมีที่นั่งในคณะกรรมการบริหารสมาคม อย่างน้อย 1 ตำแหน่ง รวมทั้งสามารถตรวจสอบความโปร่งใสเรื่องงบการเงินของสมาคมได้ ที่สำคัญสมาคม ต้องสร้างผลในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดในการสนับสนุนต่อไปในอนาคตด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัจจุบันกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มีงบประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี ในการสนับสนุนวงการกีฬา จะทับซ้อนกับนโยบาย 1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ พลัส หรือไม่ “บิ๊เอ” กล่าวว่า จากประสบการณ์ในการบริหารสมาคมกีฬาเทควันโดฯ งบจากทางกองทุนฯ ไม่สามารถดูแลได้ครอบคลุมทั้งหมด เพราะมีระเบียบกำหนดอยู่ นโยบายนี้จึงจะเข้ามาสนับสนุนได้มากขึ้น ช่วยให้การทำงานยืดหยุ่นได้มากขึ้น ไม่ติดอยู่กับกรอบเดิมๆ